ประวัติ


ประวัติศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดโปรดเกศเชษฐาราม
                ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดโปรดเกศเชษฐาราม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๖ ตามนโยบายของรัฐบาลสมัยนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เด็กเล็กที่ยังอายุยังไม่ถึงเกณฑ์เข้าเรียน ได้เข้ามาใกล้ชิดกับพระศาสนาโดยมีพระและวัดเป็นผู้ดูแลจัดการ เพื่อปลูกฝังคุณธรรมเบื้องต้นให้กับเด็ก และรับเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้ผู้ปกครองออกไปปประกอบอาชีพได้อย่างไม่ต้องมีห่วงกับบุตรธิดา เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองได้อีกส่วนหนึ่ง
                ปีที่เปิดเรียน ได้ใช้ศาลาการเปรียญด้านนอกเป็นห้องเรียน มีนักเรียน ๒๕ คน ครู ๒ คน คือ นางอาภา โกวัฒนะชัยและนางคงทรัพย์ ชาวปทุม เป็นผู้ช่วย วัดเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือนครู และจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน เช่นม้านั่ง โต๊ะเรียน เป็นต้น สำหรับอาหารกลางวัน นักเรียนต้องนำมาเอง อาหารนมยังไม่มีให้ เสื้อผ้าได้รับการช่วยเหลือจากผู้มีศรัทธาและใจบุญ ปีแรกนี้ รัฐบาลไม่ได้ให้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
                การเปิดเรียนปีแรก นับว่าขลุกขลักมาก เพราะนอกจากจะเป็นของใหม่แล้ว ยังไม่มีผู้ชำนาญงานคอยให้คำแนะนำ การเรียนการสอนจึงเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก  (nursery) การเรียนก็ไม่สม่ำเสมอ เวลาวัดมีงานต้องใช้ศาลา โรงเรียนก็ต้องหยุดเรียน ที่นอนก็ใช้ผ้าปูกับพื้นศาลา
                ปี พ.ศ.๒๕๓๗ โรงเรียนพระปริยัติธรรมสร้างเสร็จ จึงย้ายไปเรียนที่สถานที่ใหม่ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๗ นักเรียนมีเพิ่มขึ้น เป็น ๔๕ คน มีแนวการเรียนการสอน การดูแลเลี้ยงดูเข้าระบบ อนุบาล โดยอาจารย์ทวีรัตน์ ธูปวงศ์ เป็นผู้วางรากฐานให้
                พ.ศ.๒๕๓๘ มูลนิธิพีรยานุเคราะห์ ในอุปถัมภ์พระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดย ดร.อุกฤษ มงคงนาวิน ประธานมูลนิธิ ส่งเจ้าหน้าที่มาประเมินว่า ควรจะรับช่วยเหลืออย่างไร เวลาต่อมา คณะกรรมการมูลนิธิฯ โดย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน พร้อมคณะกรรมการ ได้เดินทางมามอบสิ่งของเครื่องใช้ เช่นตู้ ชุดนักเรียน ชาย หญิง และเงินช่วยสนับสนุนเงินดือนครู ตามจำนวนที่ศูนย์ฯ ทำรายงานเสนอ พร้อมค่าอาหารกลางวันแก่เด็กจำนวน ๑๓๐ คน
          พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นปีที่เศรษฐกิจของประเทศเกิดวิกฤติ การช่วยเหลือจากมูลนิธิฯงดหมดทุกรายการ ศูนย์ฯต้องดำเนินการจัดเก็บค่าบำรุงจากผู้ปกครองปีละ ๓,๐๐๐ บาท (สามพันบาทถ้วน) และสามารถที่จะแบ่งชำระได้เป็นรายเดือนหรือเป็นครั้งคราว รวมแล้วครบจำนวนเท่าที่กำหนด ถือว่าชำระครบแล้ว สำหรับชุดนักเรียนผู้ปกครองต้องซื้อเอง
                การดำเนินนโยบายขอรับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ทำให้การบริหารจัดการของศูนย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมีเงินทุนที่จะจัดการบริหารทั้งด้านการเรียนการสอนและการจัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ต้องการใช้ได้สะดวกขึ้น ทำให้ศูนย์สามารถพัฒนาได้ในทุก ๆ ด้าน
                ห้องเรียนเพิ่มเป็น ๖ ห้องเรียน ครูเพิ่มขึ้น เป็น ๑๓ คน
                พ.ศ.๒๕๔๖ ศูนย์ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ครั้งแรก อ.บ.ต.ทรงคนองช่วยจ่ายเงินเดือนครูให้ส่วนหนึ่ง รวมทั้งค่าอาหารค่านม ปี ๒๕๕๐ อ.บ.ต.ทรงคนอง ถ่ายโอนครูไปสังกัดเป็นลูกจ้างของ อ.บ.ต.ทรงคนองทั้งหมด แต่ศูนย์ฯ ก็ยังจ่ายเงินเดือนอีกส่วนหนึ่งแก่ครูจากส่วนที่ขาดจาก อ.บ.ต.ให้
                การทำสัญญาจ้างครั้งแรกมีปัญหา เพราะ อ.บ.ต.ไม่สามารถทำความเข้าใจกับครูในเรื่องสัญญาจ้างได้
                พ.ศ.๒๕๕๒ ศูนย์ฯ มีนักเรียน ๒๒๙ คน ครู ๑๔ คน
                พ.ศ.๒๕๕๓ ศูนย์ฯ มีนักเรียน ๒๙๔ คน ครู ๑๔ คน
                พ.ศ.๒๕๕๔ ศูนย์ฯ มีนักเรียน ๒๖๕ คน ครู ๑๓ คน
                ศูนย์ฯ ได้ก่อสร้างอาคารขึ้นมาอีก ๑ หลัง รับเลี้ยงเด็กอายุตั้งแต่ ๒ ขวบ ถึง ๒ ขวบ ๑๑ เดือนที่ผู้ปกครองต้องออกไปทำงานไม่มีคนเลี้ยงดูบุตรธิดา เป็นการลดภาระการใช้จ่ายของผู้ปกครองที่ต้องจ้างเอกชนเลี้ยงดู และศูนย์ฯ ได้จ้างครูเพิ่มอีก ๒ คน มาดูแลเด็กเล็ก
                พ.ศ.๒๕๕๕ ศูนย์ฯ มีนักเรียน ๓๐๐ คน ครู ๑๖ คน
                พ.ศ.๒๕๕๖ มีนักเรียน ๓๐๑ คน ครู ๑๗ คน
                พ.ศ.๒๕๕๗ มีนักเรียน ๒๙๗ คน ครู ๑๖ คน

สถิติจำนวนครูและนักเรียนรายปี
ปี พ.ศ.
จำนวนชั้นเรียน
จำนวนนักเรียนชาย
จำนวนนักเรียนหญิง
รวม
จำนวนครู
2536
1
25
2
2537
2538
2
46
36
82
4
2539
4
112
110
222
8
2540
2541
133
120
253
8
2542
137
119
256
10
2543
147
135
282
11
2544
176
136
312
12
2545
6
167
146
313
13
2546
2547
6
161
124
285
14
2548
6
159
135
294
14
2549
6
160
149
309
14
2550
3551
7
148
127
275
14
2552
7
118
111
229
14
2553
7
158
136
294
14
2554
7
145
138
263
13
2555
8
177
123
300
16
2556
8
171
130
301
17
2557
8
153
144
297
16

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น